ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน, คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา, GTO คุณครูพันธุ์หายาก, ทัช, ก้าวแรกสู่สังเวียน, ผ่าพิภพไททัน – เชื่อว่าใครหลายคนคงเติบโตมากับการ์ตูนญี่ปุ่นเหล่านี้
วิบูลย์กิจ นับเป็นสำนักพิมพ์ระดับตำนาน ที่บุกเบิกการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ตลอดระยะเวลา 45 ปี พวกเขาทำให้คนไทยได้รู้จักกับการ์ตูนไม่ต่ำกว่าหลายหมื่นเรื่อง สำหรับหลายคนการ์ตูนเหล่านี้คือความสุขในวัยเด็กที่ไม่เคยลืมเลือน
วันนี้ แม้ธุรกิจสิ่งพิมพ์อยู่อย่างลำบากขึ้น แต่วิบูลย์กิจก็พยายามปรับตัว เพื่อให้ยังยืนหยัดนำเสนอผลงานดีๆ ได้ต่อไป เราจึงได้เห็นการ์ตูนรูปแบบใหม่ผ่านทางแอปพลิเคชัน และมีการ์ตูนคลาสสิกกลับมาให้อ่านอีกครั้ง
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ร่วมกับ The Cloud ขอพาทุกคนไปคุยกับ บก.วุฒิ-วรวุฒิ วรวิทยานนท์ บรรณาธิการบริหารของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมายาวนานเกือบ 40 ปี ถึงเส้นทางอันยาวไกลของการ์ตูนญี่ปุ่น ที่สำคัญเขาเป็นคนที่รักการ์ตูนมาก และเชื่อว่าใครที่รักการ์ตูนแล้วจะรักมันไปจนวันตาย
อ่าน วิบูลย์กิจ จากเด็กมัธยมลอกลายด้วยใจรัก สู่ สนพ. ที่กำเนิดมังงะลิขสิทธิ์เล่มแรกของไทย ที่ https://readthecloud.co/vibulkij
แต่ก่อนจะไปอ่านฉบับเต็ม เรามีเรื่องราวสนุกๆ ที่หลายคนอาจไม่รู้ มาเล่าให้ฟัง
1. ถึงแม้ บก.วุฒิ จะทำงานที่วิบูลย์กิจเกือบ 40 ปี แต่การ์ตูนที่เขาชอบที่สุดก็ยังเป็นเรื่องที่เคยอ่านสมัยวัยเด็ก-วัยรุ่น อย่างอุลตร้าแมน, ไอ้มดแดง, โดราเอมอน, อาราเล่ กับ ดร.สลัม, คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า เพราะการ์ตูนเหล่านี้คือความผูกพันเริ่มต้นที่ทำให้ชอบการ์ตูน จนมีโอกาสเข้ามาทำงานและได้สัมผัสอีกมากมาย
2. ถ้าเป็นการ์ตูนของวิบูลย์กิจเอง บก.วุฒิ ชอบหลายเรื่องมาก หนึ่งในนั้นต้องมี ‘ผีซ่าส์กับฮานาดะ’ ด้วยอย่างแน่นอน ในเรื่องเล่าถึงเด็กซ่าส์ชื่อฮานาดะ ซึ่งวันหนึ่งประสบอุบัติเหตุทำให้มองเห็นผี บรรดาผีต่างๆ จึงมาไหว้วานให้เขาไปช่วยทำภารกิจที่ติดค้างใจ ไม่ได้ทำไว้ก่อนตาย นอกจากสนุกมากแล้ว การ์ตูนเรื่องนี้ยังแฝงแง่คิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้มีคุณค่า
3. ปกแรกของ ทีวีไลน์ นิตยสารการ์ตูนเล่มแรกของวิบูลย์กิจ สมัยยังไม่มีลิขสิทธิ์ เป็นรูปอุลตร้าแมนเลโอ ออกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2518 ส่วน The Zero ออกเล่มแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2527 มีเรื่องดราก้อนบอลเป็นตัวชูโรง
4. เมื่อเข้าสู่ยุคลิขสิทธิ์ ไทยเป็นประเทศเดียวที่สำนักพิมพ์ญี่ปุ่นยอมให้ผลิตการ์ตูนแบบกลับขวาเป็นซ้ายได้ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ จะต้องผลิตแบบอ่านจากขวาไปซ้ายตามต้นฉบับ
5. บก.วุฒิ คือผู้ให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูน ThaiComic เพราะต้องการผลักดันผลงานนักเขียนการ์ตูนไทยให้ผู้อ่านรู้จัก ทำให้เกิดการพัฒนาฝีมือ มีนักเขียนเก่งๆ หลายคนเคยส่งผลงานมาร่วมในเวทีนี้ หนึ่งในนั้นคือเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ 13 เกมส์สยอง
6. ในยุคที่วิบูลย์กิจหยุดออกการ์ตูนทั้งหมดเพื่อจัดการปัญหาลิขสิทธิ์ นิตยสารเล่มเดียวที่ออกคือ ThaiComic ซึ่งทีมงานใช้แจ้งข่าวสารและสถานการณ์ให้ผู้อ่านรับรู้
7. นอกจากชอบอ่านการ์ตูนแล้วยังชอบเล่นเกม บก.วุฒิ จึงนำความชอบตรงนี้มาทำนิตยสารเกมรายสัปดาห์ชื่อ MEGA บอกเล่าข่าวสารวงการเกม และบทสรุปวิธีการเล่น ยุคที่เริ่มออกตรงกับเครื่อง Super Famicom กำลังฮิตพอดี
8. วิบูลย์กิจเป็นผู้ริเริ่มงาน Cosplay ของเมืองไทย! เมื่อวันหนึ่งทีมงานก็เกิดไอเดียว่าควรจะจัดงานกิจกรรมพบปะผู้อ่าน เหมือนปาร์ตี้ของคนรักการ์ตูน นำไปสู่งาน Vibulkij Comics Party โดยครั้งแรกจัดที่ห้างสรรพสินค้าสีลมคอมเพล็กซ์ เมื่อปี 2542 มีทั้งการออกร้านขายการ์ตูน สินค้า เล่นเกมส์ และประกวดแต่งคอสเพลย์ โดยนำไอเดียมาจากญี่ปุ่น จัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี
9. ในตอนแรกที่ได้ลิขสิทธิ์ ผ่าพิภพไททัน บก.วุฒิ ไม่ค่อยมั่นใจว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะช่วงแรกลายเส้นก็ไม่สวย เนื้อเรื่องก็เข้าถึงยาก แต่คิดว่าลองทำดู ผ่านมา 1 ปี ยอดขายยังไม่ค่อยดีเท่าไร จนกระทั่งวันหนึ่งอนิเมชันเรื่องนี้โด่งดังในต่างประเทศ ทำให้เกิดกระแสในกลุ่มผู้อ่านชาวไทย หนังสือการ์ตูนจึงกลับมาได้รับความนิยมสูงมาก
ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของผู้บุกเบิกวงการการ์ตูน ผู้ทำให้แบรนด์ Walt Disney กลายเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักทั่วโลก พร้อมกับตัวการ์ตูนสำคัญอย่าง มิกกี้เมาส์
นักเขียนตำนานในตำนาน แห่งเบบี้และขายหัวเราะ เจ้าของผลงานการ์ตูนติดเกาะ โจรมุมตึก และอื่นๆ อีกมากมาย
นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่น ผู้สร้างผลงานแนวจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านชาวไทยมากมาย
นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นระดับตำนาน ผู้สร้างยอดมนุษย์มากมาย เช่น ไอ้มดแดง
นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่น เจ้าตำรับผลงานสุดฟีลกู๊ด ที่ลายเส้นไม่ซับซ้อน แต่เปี่ยมด้วยความหมาย
ย้อนเรื่องราวตำนานความฮาฉบับกระเป๋าของเมืองไทย ‘ขายหัวเราะ’ ผ่านปากคำของ บ.ก.วิติ๊ด และครอบครัว
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
แรงบันดาลใจของพระอีสานผู้ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ สู่การสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.