นับตั้งแต่ปี 2547 ที่ House ทำหน้าที่โรงภาพยนตร์ทางเลือก พาผู้ชมไปรู้จักหนังที่หลากหลาย รสชาติแปลกใหม่จากทั่วทุกมุมโลก แต่จะมีใครรู้บ้างว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ ทีมผู้ก่อตั้งต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง
จากโรงหนังที่คนไม่รู้จัก ตัวเลขติดลบเป็นประจำ มีแต่คนบ่นว่าอยู่ไกล เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาก็ได้พิสูจน์ว่า หนังที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากฮอลลีวูดหรือผู้สร้างชื่อดัง และโรงที่ฉายภาพยนตร์แบบนี้ก็ยังอยู่ได้ ด้วยการอุดหนุนของผู้ชมที่รักหนัง ถึงมีไม่มากแต่ก็อบอุ่นเหนียวแน่น
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา อยากชวนไปคุยกับ 3 ผู้ก่อตั้ง House อุ๋ย-ชมศจี เตชะรัตนประเสริฐ, จ๋อง-พงศ์นรินทร์ อุลิศ และ จ้อย นรา-พรชัย วิริยะประภานนท์ ถึงการเดินทางอันยาวไกลของโรงภาพยนตร์แห่งนี้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงการย้ายบ้านจาก RCA มาสู่สามย่านมิตรทาวน์ และการปรับตัวในยุคโควิด-19 ที่ธุรกิจโรงหนังทั่วประเทศแทบร้างไปช่วงหนึ่ง
อ่าน House โรงหนังทางเลือกที่ยืนหยัดมาถึง 17 ปี เพื่อให้คุณรู้จักหนังดีรสชาติใหม่ๆ จากทุกมุมโลก ที่ https://readthecloud.co/house-rca-house-samyan
แต่ก่อนจะไปอ่านฉบับเต็ม เรามีเกร็ดที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรงหนัง House มาฝาก
1. ก่อนที่โรงหนังแห่งนี้จะชื่อ House เคยมีชื่ออื่นๆ ที่จ๋องเสนอขึ้นมาอย่าง ซาลาเจโว, วันเดอร์รามา, บาติสตูต้า, เบอรูชาก้า, คิตาโน่ ไปจนชื่อที่ขึ้นชื่อด้วยศาลา ล้อกับชื่อโรงหนังเก่า มีแม้กระทั่งชื่อแปลกๆ อย่าง ทอยเล็ต ซินีมา
2. จ๋องและจ้อย เคยเข้าใจผิดว่า โรงภาพยนตร์มงคลรามา ย่านสะพานควาย อยู่ในเครือของสหมงคลฟิล์ม บริษัทที่บ้านอุ๋ย จึงเชียร์ให้รีโนเวตทำเป็น House เพราะอยู่ใกล้รถไฟฟ้า และแถวนั้นมีร้านข้าวมันไก่อร่อย ก่อนพบว่าเป็นของเจ้าอื่น
3. ในการรีโนเวตโรงหนัง UMG ให้เป็น House RCA ถึงแม้เก้าอี้จากโรงหนังเดิมจะยังใช้ได้ แต่อุ๋ยก็ขอสั่งซื้อใหม่ทั้งหมดเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเบาะหนังนุ่มสบายสำหรับผู้ชม วันนั้นอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง แต่เก้าอี้ชุดนั้นยังใช้มาจนถึงวันนี้ที่ย้ายโรงมาที่สามย่าน รวมอายุเกือบ 17 ปีแล้ว ช่างเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าจริงๆ
4. ภาพวาดการ์ตูนลายเส้นประ บนผนัง House RCA ที่หลายคนคุ้นเคย ความจริงแล้วเกิดจากการแก้ปัญหาที่ทำโรงหนังเสร็จไม่ทัน ตอนนั้นมีผนังว่างยาวถึง 70 เมตร รอตกแต่งอยู่ วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ จึงออกไอเดียให้จ๋อง ไปชวนแป้ง-ภัทรีดา ประสานทอง มาช่วยวาด โดยออกแบบให้เป็นลายเส้นประ เพราะใช้สีน้อยและทำได้เร็วกว่า
5. หลายปีก่อน ในช่วงที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายในเมืองไทย โรงหนังแทบทุกโรงทั่วประเทศต่างเทรอบให้กับภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่องนี้ จนเบียดหนังเรื่องอื่นๆ หลุดหายไปจากโปรแกรม บางแห่งเหลือหนังฉายแค่ 2 เรื่อง แต่ที่ House กลับเป็นเพียงโรงภาพยนตร์แห่งเดียวที่ยังคงฉายหนังถึง 7 เรื่อง ทั้งที่มีแค่ 2 โรง
6. คนมาใช้บริการ House เป็นประจำคงคุ้นเคยกับ ‘พี่วิโรจน์’ พนักงานฉีกตั๋วและคุมเครื่องฉายอาวุโส พี่วิโรจน์เริ่มต้นทำงานเป็นช่างซ่อมและติดตั้งเครื่องเสียงในโรงหนัง ก่อนจะถูกชักชวนมาเป็นคนฉายหนังเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ทำงานในเครือสหมงคลฟิล์ม ตั้งแต่ยุคก่อน UMG RCA จนมาถึง House RCA และ House Samyan พี่วิโรจน์เคยฉายหนังเรื่อง Little Buddha ตั้งแต่ยุคฟิล์ม จนเมื่อ 2 ปีที่แล้วต้องกลับมาฉายหนังเรื่องเดียวกันอีกครั้งในแบบดิจิทัล
8. ช่วงปิดปรับปรุงโรงในปีที่ 12 วันหนึ่ง เสี่ยเจียง-สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ โทรศัพท์มาถามอุ๋ยว่า ‘House ปิดหรอ’ เมื่อลูกสาวบอกไปว่าปิดปรับปรุงช่วงหนึ่ง บอสของสหมงคลฟิล์มก็พูดว่า ‘เหรอ ดีๆ ไม่ควรจะปิดมันนะ ทำต่อไป’ ถึงแม้หลายปีที่ House ขาดทุนและส่งผลกระทบถึงสหมงคลฟิลม์ด้วย แต่เสี่ยเจียงไม่เคยบอกให้อุ๋ยเลิกทำ
9. ถ้าใครสังเกตดีๆ จะพบว่าโรงหนังที่ House Samyan จะเริ่มต้นที่โรง 3-4-5 เพราะอยากจะให้ทุกคนนึกถึงว่าครั้งหนึ่งเคยมีโรง 1-2 อยู่ที่ House RCA
10. แม้ยุคนี้คนจะหันมานิยมดูหนังผ่านวิดีโอสตรีมมิงมากขึ้น แต่จ๋อง จ้อย และอุ๋ย ก็ยังเชื่อว่าไม่มีอะไรมาแทนประสบการณ์การดูหนังในโรงภาพยนตร์ได้ เหมือนที่ผ่านมามีทั้งวิดีโอ โทรทัศน์ วีซีดี ดีวีดี แต่โรงภาพยนตร์ก็ไม่เคยตาย
พูดคุยกับ 6 ผู้กำกับเรื่อง แฟนฉัน หนังไทยที่สร้างปรากฏการณ์ และก่อให้เกิดความเปลี่ยนในวงการภาพยนตร์
โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์หญิง ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนหนังไทย ยุค 2000 ไปสู่นานาชาติ
พระเอกยอดนักบู๊ ผู้ตามหาฝันจากเด็กเลี้ยงช้าง สู่นักแสดงระดับโลก
พูดคุยกับทีมเขียนบท SuckSeed ห่วยขั้นเทพ หนังไทยที่จุดกระแสดนตรีไปทั่วโรงเรียนมัธยม
เรื่องราวของ House โรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังทางเลือกเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการรับชมหนังของคนไทยให้หลากหลายยิ่งขึ้น
ช่างภาพภาพขาว-ดำ แห่งเกาะฮ่องกง เจ้าของตำนานแสงเทพ ผู้มีชีวิตพลิกผันกลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เรต R แห่ง Shaw Brothers
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
แรงบันดาลใจของพระอีสานผู้ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ สู่การสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.