หากพูดถึงรายการวาไรตี้ที่อยู่คู่จอทีวีไทยมายาวนาน รับรองว่า ‘ตีท้ายครัว’ ต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่ทุกคนนึกถึง
เพราะนอกจากจะพาผู้ชมไปลัดเลาะ ซอกแซกตามบ้านคนดังแล้ว ความสนุกสนาน ความเป็นกันเองจากเหล่าพิธีกรสุดป่วน ทั้ง หนุ่ม-โอ๋-อาร์ต-มดดำ ซึ่งไม่เพียงจะตีซี้กับแขกรับเชิญแล้ว ยังตีกันเองอีกต่างหาก กลายเป็นเสน่ห์ที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะไปพร้อมๆ กัน
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ร่วมกับ The Cloud จึงชักชวน จ๋า–ยศสินี ณ นคร หนึ่งในทีมผู้จัดจากเงาะถอดรูป มาพูดคุยกันแบบทุกซอกทุกมุม แล้วคุณจะรู้จัก ‘ตีท้ายครัว’ มากกว่าที่คิด
อ่าน : 16 ปี ‘ตีท้ายครัว’ รายการเยี่ยมบ้านนอกกรอบที่ไม่เข้าตามตรอก ไม่ออกตามประตู ที่ https://readthecloud.co/teetaikrua
แต่ก่อนที่เราจะไปอ่านเรื่องราวแบบเต็มอิ่ม เรามีเกร็ดสนุกๆ มาเล่าให้ฟัง
1. ก่อนหน้านี้บริษัทเงาะถอดรูป จำกัด เคยทำรายการชื่อ ‘เงาะถอดรูป’ เป็นรายการ Makeover ที่แปลงโฉมทั้งอาหาร สถานที่ และผู้คน รายการแรกๆ ของเมืองไทย แต่ทำได้เกือบปี ก็ตัดสินใจปิดตัวไป และหันมาทำรายการ ตีท้ายครัว แทน
2. ตีท้ายครัว ออกอากาศเทปแรกทางช่อง 3 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2549 โดยมีผู้จัดรายการ 3 คือ ดุ๊ก–ภาณุเดช วัฒนสุชาติ, ต้น–ณฐนนท์ ชลลัมพี และ จ๋า–ยศสินี ณ นคร
3. ไอเดียตั้งต้นของตีท้ายครัว คือนำเสนอในเรื่องดีๆ ของคนดัง เพราะตอนนั้นกระแสหนังสือปาปารัสซี่ที่เน้นขายข่าวฉาวของดารากำลังมาแรงมาก
4. พิธีกร 4 คนแรกของตีท้ายคือ หนุ่ม–กรรชัย กำเนิดพลอย และ โอ๋–ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ เสนอโดย ดุ๊ก เพราะทั้งคู่กำลังโด่งดังจากการเป็นคู่รองในละครเรื่อง อุ้มรัก และฉากเด็ดก็คือ ตีกันทะเลาะกันอยู่ตลอด ดุ๊กจึงหวังว่าจะเห็นทั้งสองคนมาตีกันในรายการบ้าง ส่วนอีก 2 คน คือ กอล์ฟ–เบญจพล เชยอรุณ ซึ่งมาจาการเสนอของต้น และสุดท้ายคือ อาร์ต–พลังธรรม กล่อมทองสุข ซึ่งจ๋าเป็นคนแนะนำ
5. ครั้งหนึ่ง ดุ๊ก-ภาณุเดช เคยพูดถึงหนุ่มผ่านรายการตีท้ายครัวว่า “หนุ่มเป็นคีย์แมนของรายการเลยนะ เพราะหนุ่มทำให้คาแรกเตอร์ของรายการชัด รื้อค้น สนุกสนาน ซุกซน และมีข้อมูลเยอะ หนุ่มเป็นขาเผือก นี่เป็นคำชมนะ”
6. กอล์ฟเป็นพิธีกรอยู่ได้ 3 ปี จึงขอลาออก หนุ่มจึงเสนอ มดดำ–คชาภา ตันเจริญ มาเป็นพิธีกรแทน ตอนแรกๆ ดุ๊กเคยบอกว่า กลัวมดดำมาก เพราะคาแรกเตอร์เป็นคนแรงๆ แต่พอได้ทำงานด้วยกันจึงพบว่า มดดำเป็นคนให้เกียรติและตั้งใจทำงานมาก เช่นเดียวกับจ๋า ซึ่งบอกว่า ถ้าให้มีเพื่อนสัก 1 คน ให้เลือกคบมดดำไว้เลย เพราะ ใจถึงพึ่งได้สุดๆ
7. เทปที่ผู้จัดทั้งสามคนบอกว่า เป็นจุดเปลี่ยนของรายการ ต้องยกให้ วุ้นเส้น-วิริฒิพา ภักดีประสงค์ เพราะมาออกรายการเมื่อไหร่ เรตติงสูงตลอด จ๋าวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะวุ้นเส้นเป็นคนที่น่ามอง คุยสนุก และเวลาที่มาออกก็มักอยู่ในกระแส แถมกลุ่มผู้ชมก็หลากหลาย ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนดูในต่างจังหวัดก็ดูเยอะ พอมาบวกกับแฟนรายการที่ติดตามอยู่ตลอด เรตติงก็เลยเพิ่มขึ้นโดยปริยาย
8. ตีท้ายครัว ถือเป็นรายการแรกๆ ที่คนดังยอมเปิดบ้าน อย่างเทปแรก นก–ฉัตรชัย และ นก–สินจัย เปล่งพานิช ก็ไม่เคยเปิดบ้านที่ไหนมาก่อน หรือเชอรี่–เข็มอัปสร สิริสุขะ ถึงวันนี้ก็ยังไม่เคยเปิดบ้านให้รายการไหนอีกเลย และหลายคนต้องรอกว่าสิบปี แขกรับเชิญถึงยอมเปิดบ้าน เช่น ก้อง–สหรัถ สังคปรีชา ซึ่งรับปากกับดุ๊กไว้ โดยตอนแรกตั้งใจจะเปิดบ้านที่เขาใหญ่ แต่สุดท้ายไม่สะดวกก็เลย ยอมเปิดบ้านที่กรุงเทพฯ ให้แทน
9. ข้อห้ามอย่างหนึ่งของตีท้ายครัว คือ ห้ามล้ำเส้นแขกรับเชิญ เน้นความสบายใจเป็นสำคัญ ที่สำคัญตีท้ายครัวไม่ได้เน้นว่า ต้องเป็นรายการแรกที่ได้สัมภาษณ์ จะเป็นรายการที่ 4-5-6-7-8 ก็ไม่เป็นไร เพราะมั่นใจได้เลยว่า มุมที่นำเสนอนั้นไม่เหมือนใครอย่างแน่นอน
10. นอกจากตีท้ายครัวทางช่อง 3 แล้ว เงาะถอดรูปยังทำรายการออนไลน์เพิ่มอีกรายการชื่อ ปะกินนะก๊ะ เป็นรายการลูกของตีท้ายครัวที่เน้นไปยังกลุ่มวัยรุ่นเป็นหลัก
เบื้องหลังความคิดของโปรดิวเซอร์แห่งเรียลริตี 24 ชั่วโมงรายการแรกของเมืองไทย เวทีนักล่าฝันที่สร้างคนคุณภาพสู่วงการบันเทิงไทย
เส้นทางความคิดของผู้กำกับและมือเขียนบทฝีมือเก๋าของวงการ ผู้เคยสร้างปรากฏการณ์ แรงเงา จนดังทั่วบ้านทั่วเมือง
ตีท้ายครัว รายการเยี่ยมบ้านที่อยู่จอทีวีไทยมายาวนาน โดยมีเสน่ห์อยู่ตรงที่ความเป็นกันเองของพิธีกร และการพาไปสัมผัสกับแง่มุมของคนดังที่น้อยคนจะเห็น
พิธีกรและนักเดินทาง ผู้บุกเบิกรายการท่องเที่ยวแบบผจญภัยของเมืองไทย
ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของผู้บุกเบิกวงการการ์ตูน ผู้ทำให้แบรนด์ Walt Disney กลายเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักทั่วโลก พร้อมกับตัวการ์ตูนสำคัญอย่าง มิกกี้เมาส์
ย้อนเรื่องราวของนักสื่อมวลชน ผู้ยกระดับช่อง 9 จากแดนสนธยา สู่การเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสังคมไทย
เบื้องหลังความคิดของโปรดิวเซอร์แห่งเรียลริตี 24 ชั่วโมงรายการแรกของเมืองไทย เวทีนักล่าฝันที่สร้างคนคุณภาพสู่วงการบันเทิงไทย
เส้นทางความคิดของผู้กำกับและมือเขียนบทฝีมือเก๋าของวงการ ผู้เคยสร้างปรากฏการณ์ แรงเงา จนดังทั่วบ้านทั่วเมือง
ตีท้ายครัว รายการเยี่ยมบ้านที่อยู่จอทีวีไทยมายาวนาน โดยมีเสน่ห์อยู่ตรงที่ความเป็นกันเองของพิธีกร และการพาไปสัมผัสกับแง่มุมของคนดังที่น้อยคนจะเห็น
พิธีกรและนักเดินทาง ผู้บุกเบิกรายการท่องเที่ยวแบบผจญภัยของเมืองไทย
ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของผู้บุกเบิกวงการการ์ตูน ผู้ทำให้แบรนด์ Walt Disney กลายเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักทั่วโลก พร้อมกับตัวการ์ตูนสำคัญอย่าง มิกกี้เมาส์
ย้อนเรื่องราวของนักสื่อมวลชน ผู้ยกระดับช่อง 9 จากแดนสนธยา สู่การเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสังคมไทย
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
ผู้พลิกชีวิตจากเด็กสลัมคลองเตย สู่ตลกอัจฉริยะของเมืองไทย ที่สร้างมุกสุดคลาสสิกและอยู่ในใจของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่อยากรักษาเสน่ห์ของพื้นที่อารีย์ พร้อมกับรักษาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการใช้กุศโลบายที่ดึงดูดให้คนทุกมีส่วนร่วม
นักออกแบบแดนปัตตานีที่รวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนภาพจำๆ เดิมของชายแดนใต้ ไปสู่กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์
จากครูอาสาที่มาสอนดนตรีในชุมชนคลองเตย สู่การต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่ที่จะเติบโตอย่างงดงาม
ผู้พลิกชีวิตจากเด็กสลัมคลองเตย สู่ตลกอัจฉริยะของเมืองไทย ที่สร้างมุกสุดคลาสสิกและอยู่ในใจของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน
โลกดนตรี ตำนานรายการคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ที่ศิลปินยุค 1970-2000 อยากขึ้นแสดงมากที่สุด เพราะใครที่มีโอกาสได้ขึ้นเวทีนี้ แสดงว่าดังแล้ว
ห้องทดลองกฎหมายของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ทำงานเรื่องการพิสูจน์สิทธิเรื่องสัญชาติ เพื่อให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
COPYRIGHT © 2021 WWW.THENORMALHERO.CO. ALL RIGHTS RESERVED.